Log in

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

ประเทศไทยมีศักยภาพทางการแข่งขันสูงโดยภาพรวมเศรษฐกิจยังชะลอตัวในปี 2560 แต่อนาคตระยะยาว จะสามารถก้าวไปสู่ Thailand 4.0

  • STEEP Category :
    Economy
  • Industry :
    All
  • Created Date :
    09 June 2017
  • Status :
    Current
  • Author :
    Phunphen Waicharern
Description :

International Institute for Management Development (IMD) สวิตเซอร์แลนด์ ได้ประกาศผลการจัดอันดับความสามารถการแข่งขันของประเทศจาก World Competitiveness Center ของ IMD ประจำปี 2560 ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 27 จากอันดับ 28 จากทั้งหมด 63 ประเทศทั่วโลก โดยฮ่องกงยังคงครองอันดับ 1 รองลงมาสวิตเซอร์แลนด์ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ขณะที่สิงคโปร์เลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับ 3 ทำให้สหรัฐอเมริกาตกไปเป็นอันดับที่ 4

อย่างไรก็ตาม นโยบายประเทศไทย 4.0 ยังอยู่ในระหว่างการขับเคลื่อนด้วยการสนันบสนุนผ่านนโยบายภาครัฐ โดยนโยบายดังกล่าวเป็นโมเดลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักการเป็นประเทศรายได้ปานกลางซึ่งจะต้องปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น ซึ่งในระยะหนึ่งปีที่ผ่านมา ภาครัฐได้ประกาศนโยบายและดำเนินโครงการที่สนับสนุนการขับเคลื่อนดังกล่าวเป็นจำนวนมาก อาทิ ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการส่งเสริมธุรกิจ SMEs กับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนที่มีบทบาทสำคัญในทางธุรกิจของ สปป.ลาว

สรุปโดย พรรณเพ็ญ ว.

 

Future Challenge เศรษฐกิจโลกเกิดความผันผวนอย่างรุนแรง ทั้งจากเหตุการณ์เบร็กซิท (Brexit) ของสหราชอาณาจักรที่ต้องการออกจากสหภาพยุโรป การขึ้นเป็นประธานาธิบดีของนายโดนัลด์ ทรัมป์ การกีดกันการค้า กดดันเศรษฐกิจ ปัญหาการเมืองเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจโลก ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย แม้ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เพิ่งจะปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้เป็น 3.4% จากเดิมที่ 3.2% แต่มองว่าปัญหาดังกล่าวถือเป็นความเสี่ยงด้านต่ำที่เพิ่มขึ้น และต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

อีกทั้งภาครัฐยังได้ลงทุนจัดทำโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor; EEC) ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติในการเข้ามาลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อนำประเทศไทยเข้าสู่ Thailand 4.0 ทั้งนี้ รัฐบาลจะมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ตามแผนของ EEC คาดว่าภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าจะมีความต้องการใช้พื้นที่เพื่อการลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Engine Growth) แบ่งเป็น การต่อยอด 5 อุตสาหกกรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) และ 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-curve)

 

โดยมีกรอบโครงการ 5 โครงการ ที่เป็นกระดูกสันหลังของ EEC ประกอบด้วย

1. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3

2. โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง ที่จะเชื่อมโยงสนามบินพาณิชย์ 3 แห่งให้สำเร็จ ได้แก่ สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา

3. โครงการพัฒนาท่าเรือ 3 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ท่าเรือสัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด

4. โครงการรถไฟทางคู่ เชื่อมโยงท่าเรือ 3 แห่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการขนส่งสินค้าทางราง

5. โครงการพัฒนาเมืองใหม่ ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) คือ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ จากการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และทำให้เกิดการพัฒนาเมืองใหม่เป็นเมืองที่ทันสมัย ยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ประชาชนดีขึ้นอย่างน้อยใน 3 พื้นที่คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง

Opportunities

• ทราบความเคลื่อนไหว และเป็นโอกาสให้สถาบันฯ เข้าไปช่วยในการจัดทำระบบมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรองให้เป็นไปตามกรอบระบบการตรวจสอบและการรับรองสากล

• นโยบายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในบริเวณชายแดน

• นโยบายภาครัฐในการพัฒนาและส่งเสริมใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve และ New S-curve Threats

• ภาคอุตสากรรมชะลอการลงทุนเพื่อรอดูทิศทางเศรษฐกิจ ทำให้มีผลต่อธุรกิจสถาบันโดยตรง Implication • เตรียมปรับตัวและพัฒนาบุคลากรให้พร้อมรับมือกับมาตรฐานการรับรองที่เปลี่ยนไป

• ร่วมทำงานกับภาครัฐและนำเสนอโครงการที่ช่วยในการกระจายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น สนับสนุน SME เป็นต้น

• ส่งเสริมบริการด้านการให้การรับรองมาตรฐาน ISO 22301 (BCM) และ ISO 31000 (Risk Management)

• ขยายบริการด้านการให้การรับรองมาตรฐาน ISO 12812 (Core Banking – Mobile Financial Services)

• ขยายบริการด้านการให้การรับรองมาตรฐาน ISO 39001 (Road traffic safety (RTS) management system)

References: http://www.masciinnoversity.com/?p=22453 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/750963

สรุปโดย พลอย ก.

Potential Impacts :

โอกาสในการลงทุนและการแข่งขันในตลาดโลกi

ISO 22301 (BCM), ISO 31000 (Risk Management)

ISO 12812 (Core Banking – Mobile Financial Services)

ISO 12812 (Core Banking – Mobile Financial Services)

ISO 37120 (Sustainable development of communities - Indicators for city services and quality of life

ISO/IEC 30182 (Smart city concept model -Guidance for establishing a model for data interoperability

ISO/TS 37151 (Smart community infrastructures - Principles and requirements for performance metrics)

เป็นต้น