Log in

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

จับตาเคมีภัณฑ์เกษตร ตลาดนี้มีอนาคต

  • STEEP Category :
    Economy
  • Event Date :
    01 June 2017
  • Created :
    09 June 2017
  • Status :
    Current
  • Submitted by :
    Phunphen Waicharern
Description :

ความต้องการเคมีภัณฑ์การเกษตรทั้งปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชในช่วงครึ่งแรกปี 2560 นี้ ความต้องการใช้เคมีภัณฑ์การเกษตรมีค่อนข้างสูงในหลายพืชเศรษฐกิจทั้งข้าวนาปรังที่เริ่มปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2559 (นาปรังรอบแรก) มาจนถึงเดือนมีนาคม(นาปรังรอบสอง) รวมถึงอ้อย ปาล์มน้ำมัน และยางพารา โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญดังนี้

2 ปัจจัยดันเคมีภัณฑ์การเกษตรโต: ด้านราคาพืชเกษตร ด้านปริมาณน้ำ

ครึ่งหลังของปี 2560 คาดว่า ความต้องการเคมีภัณฑ์การเกษตรจะยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ จากปัจจัยทางด้านราคาพืชผลเกษตรหลักทั้ง อ้อย ยางพาราและปาล์มน้ำมันที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง ทำให้ความต้องการใช้เคมีภัณฑ์การเกษตรเพื่อบำรุงต้นพืชมีสูง ประกอบกับปริมาณน้ำฝนที่คาดว่าจะเพียงพอเหมาะสมต่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะข้าวนาปี ทำให้ความต้องการเคมีภัณฑ์การเกษตรจะยังมีต่อเนื่อง

ตลาดเคมีภัณฑ์การเกษตรปี 2560: มูลค่าประมาณ 113,433 - 140,983 ล้านบาท, ผู้ประกอบการเคมีภัณฑ์การเกษตร 1,136 ราย

จากการที่ไทยมีการผลิตพืชเกษตรหลากหลายชนิด และบางชนิดมีส่วนแบ่งในตลาดโลกสูง ส่งผลให้ความต้องการเคมีภัณฑ์การเกษตรมีมูลค่าสูง ที่อาจเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการเคมีภัณฑ์การเกษตร ดังนี้

โอกาส: Smart Farmer ตอบโจทย์ยุค 4.0, การปลูกพืชหมุนเวียน, การเติบโตของ E-Commerce, ตลาด CLMV โต

ความท้าทาย: เงินบาทอ่อนค่า, เกษตรแปลงใหญ่, ปลูกพืชผสมผสาน, เกษตรอินทรีย์

ภาพรวมตลาดเคมีภัณฑ์การเกษตรยังคงมีโอกาสเติบโตจากการเข้าสู่ภาคการผลิตของคนรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้พื้นที่ทิ้งร้างของครอบครัว หรือเช่าพื้นที่ของเจ้าของที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์ รวมถึงตลาดประเทศเพื่อนบ้านที่ยังต้องนำเข้าเคมีภัณฑ์การเกษตร ในขณะที่การปลูกพืชแบบอินทรีย์หรือแบบไฮโดรโปนิกส์ แม้ว่าจะเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นแต่ยังมีสัดส่วนน้อย ผู้ประกอบการอาจต้องติดตามกระแสดังกล่าวเพื่อเรียนรู้ตลาดใหม่ๆ ขณะเดียวกันก็สามารถใช้ช่องทางการค้ารูปแบบใหม่เช่น E-Commerce เข้าถึงเกษตรกรรุ่นใหม่ได้อีกด้วย

Tips ทำให้ธุรกิจรุ่ง:
- ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้า ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง และวาวางแผนนำเข้าสต๊อกสินค้าช่วงเงินบาทแข็ง
- ผู้ค้า วางแผนสั่งสต๊อกสินค้าให้เหมาะสม และใช้ E-Commerce ให้เกิดประโยชน์

เคมีภัณฑ์การเกษตรเป็นตลาดที่ใหญ่มีมูลค่าสูง รวมถึงตลาดส่งออกประเทศในกลุ่ม CLMV ซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมเช่นเดียวกับไทย อย่างไรก็ตาม ตลาดนี้มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อทิศทางความต้องการใช้ทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้น ผู้ประกอบการเคมีภัณฑ์การเกษตรที่ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องศึกษาและติดตามปัจจัยดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ