นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ได้เน้นย้ำถึงเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้มีผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า 1 ล้านคันภายในปี 2563 เมื่อเดือนพ.ค. 2560
นางแมร์เคิลกล่าวว่า "ดูเหมือนตอนนี้เราอาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้" ส่งผลให้มีการตีความว่าคำพูดดังกล่าวเป็นสัญญาณถึงการล้มเลิกการรณรงค์ในครั้งนี้
อย่างไรก็ดี ในการสัมภาษณ์ครั้งล่าสุด แมร์เคิลได้เรียกร้องให้มีการขยายโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เช่น การเพิ่มพื้นที่บรรทุกสินค้า รวมถึงสถานีชาร์จพลังงานตามที่จอดรถและถนนหนทาง
ด้านนายสเตฟเฟน ซีเบิร์ท โฆษกของรัฐบาลเยอรมนี ออกมากล่าวเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้ในประเด็นดังกล่าว โดยอ้างถึงเทคโนโลยีใหม่ๆหลากหลายรูปแบบที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเยอรมนีไม่ถึง 1 แสนคัน ส่วนในประเทศไทย กระทรวงพลังงาน โดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำแผนขับเคลื่อนส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศไทยตามแผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศ (EEP 2015) ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริดปลั๊กอิน และยานยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ รวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านคัน ภายในปี 2579 (http://www.ryt9.com/s/prg/2684279)
ทีี่ประเทศอังกฤษ มีรายงานข่าวว่ารถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ทางแก้ไขปัญหาที่ดี เนื่องจากยังมีรถบรรทุกและรถบัสที่ต้องใช้น้ำมันดีเซล และรถยนต์ไฟฟ้าเองก็ปล่อยมลพิษทางอากาศเช่นกัน ทั้งจากยางล้อ เบรคและผิวถนน ทั้งนี้ การเดินทางด้วยรถยนต์ในประเทศอังกฤษนั้น มีจำนวนหนึ่งในสี่ที่เดินทางน้อยกว่าสองไมล์ (มีคนเดินทางด้วยการเดินและรถจักรยานมากขึ้นซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพ) (https://www.theguardian.com/environment/2017/aug/13/electric-cars-are-not-the-solution-pollutionwatch และ http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0140673612607661)
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ทั่วโลกหันมาใส่ใจในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยกันป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นเกินกว่า 2 องศา โดยใช้มาตรการต่างๆ กฎระเบียบ มาตรฐาน และการจูงใจมาสนับสนุน (ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์ได้ถอนตัวออกจากข้อตกลงแก้โลกร้อนกรุงปารีส)
สรุปโดย พรรณเพ็ญ ว.
Future Challenge
เนื่องจากโลกมีแนวโน้มการใช้พลังงานจากน้ำมันลดลง และหันมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น โดยบทวิเคราะห์จาก Shaping Tomorrow ได้กล่าวไว้ว่าภายในปี ค.ศ. 2025 พลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นพลังงานที่ถูกที่สุดที่ใช้ทั่วโลก และในปี ค.ศ. 2040 คาดว่าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะคิดเป็น 60% ของอุปทานทั้งหมดบนโลก ในขณะที่นิวเคลียร์และพลังงานทดแทนจะมีการใช้ถึง 25% การพัฒนาประสิทธิภาพระบบไฟและเครื่องใช้ในบ้านคาดว่าจะช่วยลดการไฟฟ้าของที่อยู่อาศัย และการใช้ถ่านหินจะหมดไป
โดยคาดการณ์ว่าในอนาคตประเทศจีน จะสนับสนุนการใช้พลังงานจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ประมาณ 35% ของปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมด ภายในปี ค.ศ. 2040 และทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ COP21 ซึ่ง COP ย่อมาจาก Conference of Parties เป็นการประชุมประจำปีของประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวม 195 ประเทศที่มาร่วมกันตัดสินใจในกรอบการดำเนินงานขององค์การสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในปี พ.ศ. 2558 เป็นการประชุมครั้งที่ 21 จึงเรียกว่า COP21 ซึ่งจัดที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
เป้าหมายของการประชุม COP21 คือ เพื่อบรรลุข้อตกลงตามกฎหมายโดยประเทศต่างๆ ทั่วโลกเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อรักษาการเพิ่มระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเอาไว้ไม่ให้สูงเกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งอ้างอิงจากปริมาณการเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกนับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมนับตั้งแต่โลกของเรามีอุณหภูมิสูงขึ้น 0.85 องศาเซลเซียสตั้งแต่ปี 2423 (ค.ศ.1880) ตามรายงานของคณะทำงานระหว่างรัฐบาลเมื่อปี 2557 (ค.ศ.2014) และนักวิทยาศาสตร์มากมายกล่าวว่าก๊าซได้ถูกปล่อยขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศซึ่งทำให้เราถูกตรึงเอาไว้ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นประมาณ 2 องศาเซลเซียส
ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จึงมีความสำคัญเพราะมีการวางกรอบการดำเนินงานที่จะตอบสนองในระดับโลกต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ และสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นจะนำไปสู่คลื่นความร้อน ความแห้งแล้งและการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน นอกจากนี้ ยังมีสภาพอากาศที่สุดขั้ว แผ่นน้ำแข็งและแผ่นธารน้ำแข็งที่หลอมละลายกำลังทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นซึ่งจะยังคงมีผลต่อสิ่งมีชีวิตนับพันล้านและผู้อยู่อาศัยตามชายฝั่งทะเลทั่วโลก สำหรับผลกระทบอื่นๆ เช่น การขาดแคลนน้ำ การเปลี่ยนแปลงของแหล่งอาหารจะเกิดขึ้นไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจะมีผลต่อการพัฒนาของโลกที่ไม่สมส่วนอีกด้วย
ภาพแสดงหัวข้อที่พลังงาน (Energy) มีผลกระทบ
Opportunities
• Singapore’s plans to introduce a carbon tax from 2019 will nudge companies to reduce emissions.
• Hydrogen-powered car on the horizon.
• Panasonic sees the future of solar on car rooftops.
• Smart, Intelligent technology มีบทบาทมากขึ้น เช่น SMART City
Threats
• Donald Trump's decision to leave the Paris Accord on climate change could spark increased drilling and production rates from American oil companies.
• ภัยพิบัติทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอาจส่งผลกระทบให้ภาคอุตสาหกรรม/ธุรกิจในพื้นที่ที่เป็นลูกค้าต้องหยุดชะงัก และจะส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทาน
• อุตสาหกรรมอาจจะปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เพราะต้องลงทุนสูง
Implication
• เตรียมปรับตัวและพัฒนาบุคากรให้พร้อมรับมือกับมาตรฐานการรับรองทางด้านพลังงานที่เปลี่ยนไป
• คัดเลือกบุคลากรที่มีคุณสมบัติทางด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่ม เพื่อพัฒนาบริการทางด้านสิ่งแวดล้อม
• การทบทวนกฎหมาย/กฎระเบียบให้ทันสมัย และการพัฒนามาตรฐานเพื่อความยั่งยืน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในปัจจุบัน
• สถาบันฯ สามารถพัฒนาภาคธุรกิจเข้าสู่ความยั่งยืนได้ โดยใช้มาตรฐานต่างๆ ที่สถาบันให้บริการ เป็นเครื่องมือในการพัฒนา
• ขยายบริการด้านตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
• การตรวจสอบและ verify ด้าน CDM
References:
http://www.masciinnoversity.com/?p=20952
https://www.shapingtomorrow.com/home/alert/3988414-Energy-Forecasts
http://www.drive.com.au/motor-news/the-breakdown-hydrogen-on-the-horizon-20170623-gwxnp2.html
http://www.autonews.com/article/20170623/OEM05/170629887/panasonic-sees-the-future-of-solar-on-car-rooftops
สรุปโดย พลอย ก.
ธุรกิจและการลงทุนด้านพลังงานทดแทนมีมากขึ้น
ความต้องการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น
ความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังมีไม่มากพอที่จะขับเคลื่อนธุรกิจในวงกว้าง
โลกยังคงต้องการใช้พลังงานฟอสซิลในปริมาณที่ไม่ลดลง
รัฐผลักดันนโยบายภาษีจูงใจด้านการใช้พลังงานทดแทน
ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวให้ทันต่อความต้องการด้านพลังงานที่ไม่มีความแน่นอน