ประเทศไทยปรับตัวพร้อมรับเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Cloud Computing, Big Data Analysis, IoT, FinTech, หรือ Digital Transformation ที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมทั้งในด้านไอทีและอุตสากหรรมอื่นๆ ของไทย นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเริ่มมีนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เป็นของสัญชาติไทยมากขึ้น เช่น ฟิลาเจน แบรนด์เส้่นใยคอลลาเจน
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังขาดระบบและผู้เชี่ยวชาญต้านภัยไซเบอร์อันเป็นการก่อการร้ายหรือการโจรกรรมข้อมูลสำคัญหรือการเรียกค่าไถ่บนโลกไซเบอร์ที่จะทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก (Cybercrime, Hactivism, Espionage) ซึ่งรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องลงทุนให้ความรู้แก่คนในสังคม ต้องดูแลโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทั้งซอฟต์แวร์และบุคลากรรวมไปถึงกฎระเบียบและกฎหมายต่างๆ ซึ่งต้องดูแลในด้านสิทธิส่วนบุคคลควบคู่กันไปด้วย
สรุปโดย พรรณเพ็ญ ว.
Future Challenge
จากงานวิจัยของ Bloomberg New Energy Finance ได้กล่าวไว้ว่ายอดขายของรถไฟฟ้า (EV) จะมีมากถึง 41 ล้านคันทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2040 และบทวิเคราะห์จากสำนักข่าว BBC ได้กล่าวไว้ว่าภายในปี ค.ศ. 2022 บุคคลทั่วไปจะดำเนินธุรกรรมทางการเงินผ่านสาขาของธนาคารเพียงปีละ 4 ครั้ง โดยจะดำเนินธุรกรรมทางการเงินผ่าน SMART Phone มากกว่าไปที่สาขาของธนาคาร อีกทั้งบทวิเคราะห์จาก Shaping Tomorrow ยังได้กล่าวว่า 2 ใน 3 ของประชากรคาดหวังว่าจะเห็นหุ่นยนต์ทำงานในภาครัฐอีก 20 ปีข้างหน้า และประชากรมากกว่า 2 พันล้านคนจะมี smartphone และใช้จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่อย่างแอฟริกาและเอเชีย
แม้เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจะก่อให้เกิดแก่ประโยชน์อย่างมากและส่งผลกระทบต่อทุกคนทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่การพัฒนาเทคโนโลยีไม่ได้มีแต่ประโยชน์เพียงอย่างเดียว เปรียบได้กับเหรียญที่มีสองด้าน ดังที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ อย่างมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Wannacry ที่สร้างความตระหนกทั่วโลก โดยมัลแวร์ประเภทนี้จะเข้าถึงรหัสข้อมูลในเครื่องเป้าหมาย ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือซอฟท์แวร์ภายในเครื่องได้ และตั้งเงื่อนไขกับเหยื่อว่าให้โอนเงินไปให้คนร้าย เพื่อแลกกับโปรแกรมสำหรับถอดรหัสข้อมูล โดยเหยื่อมักจะโดนจากการเปิดไฟล์จากอีเมลแปลกๆ หรืออีเมลที่สวมรอยเป็นเว็บไซต์ดังแล้วส่งเอกสาร .pdf ปลอมหรือไฟล์ .exe มาให้ แต่ไส้ในกลับเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่
ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยจะพัฒนาเข้าสู่ Thailand 4.0 นั้นหัวใจสำคัญขึ้นอยู่กับผู้บริโภคและไลฟ์สไตล์แบบดิจิตอลที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) เปิดเผยว่า คนไทยใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบันอยู่ที่ 6.2 ชั่วโมงต่อวัน และการใช้งานสมาร์ทโฟนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากจนแตะระดับที่ 85.5 เปอร์เซ็นต์ ทุกวันนี้องค์กรต่างๆ เปิดตัวโมเดลธุรกิจใหม่ๆ กันอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของผู้บริโภคชาวไทยสำหรับดิจิตอลคอนเทนต์ ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ ด้วยเหตุนี้ “ระบบรักษาความปลอดภัย” จึงถือเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเติบโต ของโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยความน่าเชื่อถือ และจะได้รับการใช้งานอย่างกว้างขวางก็ต่อเมื่อผู้บริโภคเชื่อมั่นในความสามารถขององค์กรนั้นๆ ในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลด้านการเงิน (Cyber Security)
Opportunities
• สถาบันฯ สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีเพื่อให้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์และเตือนภัยแก่ภาคอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี เช่น การปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล, การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาผสมผสานเพื่อดูแลในด้านความปลอดภัยขององค์กร การใช้ข้อมูลของผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับลูกค้าในเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลโดยคำนึงถึงจริยธรรม เป็นต้น
• สถาบันฯ สามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของอุตสาหกรรมมาเผยแพร่และให้ความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้ขยายขอบข่ายและใช้ประโยชน์ต่อไปได้ เช่น อุตสาหกรรมการพิมพ์สามมิติ โดยเฉพาะไบโอพริ้นติ้ง จะเป็นประโยชน์ต่อด้านความแพทย์และความงาม เป็นต้น
• เป็นโอกาสให้สถาบันฯ พัฒนาบริการผ่านการใช้สมาร์ทโฟน การให้บริการออนไลน์และการพัฒนาแอปพลิเคชั่น เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต
• เป็นโอกาสให้สถาบันฯ เข้าไปช่วยสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิตัล ในการพัฒนาระบบการจัดการให้กับภาคธุรกิจ เพื่อขานรับโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
Threats
• อุตสาหกรรมอาจจะปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เพราะต้องลงทุนสูง
• ข้อมูลทางโซเชียล คอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูลต่างๆ อาจถูกคุกคามจากแฮ็กเกอร์ได้
• หากสถาบันฯ ไม่ปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในด้านเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็ว อาจส่งผลต่อความไม่พึงพอใจของลูกค้าได้
Implication
• เตรียมปรับตัวและพัฒนาบุคลากรให้พร้อมรับมือกับมาตรฐานการรับรองที่เปลี่ยนไป
• คัดเลือกบุคลากรที่มีคุณสมบัติทางด้านคอมพิวเตอร์หรือไอทีเพิ่ม เพื่อพัฒนาบริการทางไอที
• การทบทวนกฎหมาย/กฎระเบียบให้ทันสมัย และการพัฒนามาตรฐานเพื่อความปลอดภัยทางข้อมูล เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในปัจจุบัน
• ขยายบริการด้านการให้การรับรอง/ฝึกอบรมมาตรฐาน ISO 27001และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ISO/IEC 27032 Cybersecurity, ISO 27799 Health Informatics - Information security management in health using ISO/IEC 27002 (Information technology -- Security techniques -- Code of practice for information security controls)
References:
https://www.shapingtomorrow.com/home/alert/3829774-World-Futures
https://flipboard.com/@flipboard/-see-how-this-clean-tech-start-up-plans-/f-05da5aa96a%2Fforbes.com?_escaped_fragment_=
http://www.bbc.com/news/business-40421868
https://droidsans.com/wannacry-ransomware-summary/
http://thaipublica.org/2017/02/veerathai-thailand-4-0/
สรุปโดย พลอย ก.