Log in

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

สภาอุตฯ หั่นเป้าหมายส่งออก คาดทั้งปีได้ไม่เกิน2.5%

  • STEEP Category :
    Economy
  • Event Date :
    04 March 2015
  • Created :
    10 March 2015
  • Status :
    Current
  • Submitted by :
    Phunphen Waicharern
Description :

เอกชนหั่นเป้าส่งออกของไทยลงเหลือ 2-2.5% จากเดิม 3.5% ประเมินจากยอดส่งออกเดือนแรกของปีนี้ติดลบ แต่ยังคาดจีดีพีโตได้ตามเป้าเดิม หากรัฐเร่งเบิกจ่ายให้รวดเร็วกว่านี้ วอนลดดอกเบี้ยลงอีก 0.5 ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งเกินไป

นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ซึ่งประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ว่าจากตัวเลขการส่งออกของไทยล่าสุดเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ติดลบ 3.46% ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับลดลงส่ง ผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออกน้ำมันหายไป 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปี"

กกร.เป็นห่วงว่าภาพรวมการส่งออกของไทยปีนี้จะเติบโตได้เพียง 2.-25% ไม่เป็นไปตามเป้าหมายเดิมที่คาดไว้โต 3.5% นอกจากนี้ยังมีความกังวลเรื่องการเบิกจ่ายสะสมงบฯ ลงทุนภาครัฐจนถึงเดือนม.ค.2558 เบิกจ่ายได้เพียง 13% คิดเป็นมูลค่า 50,000 ล้านบาท ถือว่าต่ำกว่าช่วงเดียวกับปีงบประมาณ 2557 ที่เบิกจ่ายได้ 1.2 แสนล้านบาท"

ดังนั้นประเมินว่าการเบิกจ่ายงบฯ ลงทุนภาครัฐช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2558 (ต.ค.-มี.ค.2558) อาจเบิกจ่ายได้ไม่ถึง 30% ของงบฯ ทั้งหมด จึงอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมที่จะสร้างเม็ดเงินในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ

กกร.ยังคงคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไทยปีนี้โตตามเป้าหมายเดิมที่ 3.5% เนื่องจากมีปัจจัยบวกต่อเนื่องจากการท่องเที่ยวที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา 2.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 15.4% และมองว่าภาวะเงินเฟ้อล่าสุด

เดือนก.พ.ที่ติดลบ 0.52% ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 2 นั้นยังไม่เกิดภาวะเงินฝืด เพราะเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นหลัก แต่หากการเบิกจ่าย งบประมาณภาครัฐยังล่าช้าจะมีผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวได้"

ต้องฝากไปยังรัฐบาลถึงเรื่องนี้ เพราะขณะนี้การเบิก จ่ายงบฯ ลงทุนช้ามาก ซึ่งปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจึงต้องเร่งเศรษฐกิจภายในประเทศให้เร็วที่สุด ทั้งการเร่งเบิกจ่ายงบและการดูแลราคาสินค้าเกษตร เพราะหลายโครงการถูกระงับ หรือชะลอออกไปการมีงบฯ ลงทุนใหม่ๆ มาแทนก็จะต้องสร้างขึ้นมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย"

อย่างไรก็ตามในแง่ของการส่งออกเอกชนยังยืนยันที่ต้องการเห็นคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% จากปัจจุบันอยู่ที่ 2% เพื่อดูแลไม่ให้เงินไหลเข้ามากจนส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าเพื่อนบ้าน