เมกะเทรนด์ไอทีที่ร้อนแรงในปี58 ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 57 ประกอบด้วยอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ คลาวด์ฯ และบิ๊ก ดาต้า
นายธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการไอเอ็มซี สถาบันไอเอ็มซี ประเมินเทรนด์เทคโนโลยีทีมาแรงที่สุดในตลา
ประเทศไทย พร้อมกับชี้ว่า สืบเนื่องจากนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี พร้อมแผนการผลักดันการเติบโตเศรษฐกิจ รวมถึงธุรกิจอีคอมเมิร์ซของภาครัฐ ส่งผลให้ ?บิ๊กดาต้า? เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
เนื่องจากเทรนด์ดังกล่าว มีส่วนสำคัญต่อการสร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ขณะเดียวกันอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ได้รับความสนใจอย่างมากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากช่วยให้ธุรกิจองค์กรเข้าใจความต้องการลูกค้าได้มากขึ้นกว่าในอดีต
?หลายประเทศในเอเชียเริ่มปรับตัวรับเทรนด์ดังกล่าว ในไทยเองกลุ่มอุตสาหกรรมที่ตื่นตัวอย่างมากคือการเงินการธนาคาร ค้าปลีก และโทรคมนาคม ขณะนี้ต่างนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ความต้องการลูกค้า ประเมินสถานการณ์ และวิเคราะห์ยอดขาย? ไทยช้ากว่าเพื่อนบ้าน
เขาประเมินว่า พัฒนาการในประเทศไทยยังคงไปได้ช้าอยู่มาก เนื่องจากส่วนใหญ่ยังเน้นลงทุนฮาร์ดแวร์มากกว่านวัตกรรมซึ่งจะเห็นผลได้ในระยะยาว เบื้องต้นคาดว่า มูลค่าตลาดรวมในไทยยังไม่น่าจะถึง 1,000 ล้านบาท
ด้านการแข่งขัน ยังเป็นบลูโอเชี่ยนของทั้งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไอทีและธุรกิจ ทว่าหากไม่เริ่มต้นระยะยาวมีโอกาสเสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากขณะนี้ทั้งสิงคโปร์และมาเลเซียเริ่มขยับตัวอย่างเป็นรูปธรรมกันแล้ว
?ถ้าทำได้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มหาศาล แง่ผู้บริโภคความชัดเจนที่เห็นแน่นอนคือได้สินค้าที่ตรงกับความต้องการ ราคาถูกลง และมีบริการที่หลากหลายมากขึ้น?
ข้อมูลจากบริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ ระบุว่า ปี 2558 จากองค์กรธุรกิจทั่วโลก 1,000 ราย จะมี 20% เริ่มวางกลยุทธ์ที่โฟกัสด้านอินฟอร์เมชั่น อินฟราสตรักเจอร์โดยเฉพาะ ส่วนไอดีซีคาดการณ์ไว้ว่า เมื่อปี 2557 ตลาดรวมบิ๊กดาต้าทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 16.1 พันล้านดอลลาร์ นับว่าเติบโตสูงกว่าภาพรวมตลาดไอทีถึง 6 เท่า
นอกจากนี้ การใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับบิ๊กดาต้าในเอเชียแปซิฟิกรวมประเทศญี่ปุ่นปี 2558 จะสูงถึง 1.61 พันล้านดอลลาร์ หรือเติบโต 34.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
แนะรัฐ-ธุรกิจเร่งรับมือ
ผู้อำนวยการไอเอ็มซี สถาบันไอเอ็มซี กล่าวว่า โมเดลที่จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ ขยายตัวได้แพร่หลายคือรูปแบบ ?บิ๊กดาต้าแอสอะเซอร์วิส? เพื่อหลีกเลี่ยงการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ต้องใช้งบประมาณมหาศาล
ทั้งนี้ หากทำได้ย่อมเปิดโอกาสให้องค์กรขนาดเล็กมีโอกาสได้ร่วมใช้งาน เพราะถ้าต้องลงทุนทั้งหมดเอง งบที่พูดกันอยู่หลักมากกว่า 10 ล้านบาท
เขาแนะว่า ภายใต้ดิจิทัลอีโคโนมี การนำไปไอทีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญ ด้านกลยุทธ์มี 3 ประเด็นต้องให้ความสำคัญ ประกอบด้วย
?หากต้องการขับเคลื่อนดิจิทัลอีโคโนมีภาครัฐต้องหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้ ขณะเดียวกันต้องเร่งขับเคลื่อนสู่เชิงปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม?
ร่วมยกระดับคนไอที
เขากล่าวว่า บทบาทของอีเอ็มซีร่วมพัฒนาบุคลากร ตั้งเป้าว่าต่อปีจะทำให้ได้อย่างน้อย 100 คน แนวทางการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งไทยและต่างชาติร่วมส่งต่อองค์ความรู้ที่จำเป็น พร้อมทำให้เกิดความเข้าใจอย่างดีที่สุด
อย่างไรก็ดี มีการคาดการณ์ว่าปีนี้ทั่วโลกต้องการบุคคลากรมากกว่า 4.4 ล้านคน ส่วนประเทศไทยหากเริ่มต้นได้ปีละหลัก 100 คนนับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี ขณะนี้ในไทยที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงคาดว่าน่าจะน้อยกว่า 100 คน
?ไทยต้องเร่งสร้างบุคคลากรที่มีคุณภาพ ก่อนที่จะพบปัญหาขาดแคลนทีมงานซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียเปรียบทางธุรกิจ รวมทั้งถูกหลายประเทศแซงหน้าไปเมื่อเปิดเออีซี?
ดังนั้นหลังจาก 2 ปีที่ผ่านมาไอเอ็มซีฝึกอบรมคนไอทีไปเกือบ 500 คน ทั้งจากเดิมเป็นเพียงหลักสูตรระยะสั้น เตรียมเพิ่มเป็นระยะยาว 120 ชั่วโมง ด้วยเห็นว่าต้องมีความเข้าใจเรื่องวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจควบคู่กันไปด้วย
พร้อมกับย้ำว่า ความท้าทายเรื่องบิ๊กดาต้า หลักๆ ไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยีที่ยังสามารถเอื้อมถึงได้ แต่คือบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเฉพาะทางทั้งเชิงเทคนิคและธุรกิจ
?เพราะบิ๊กต้าด้าไม่ใช่เพียงการลงทุนไอทีอินฟราสตรักเจอร์ มากกว่าเรื่องเทคโนโลยี สำคัญต้องรู้เรื่องคอนเซ็ปต์ หลักการ และการวิเคราะห์ข้อมูล? นายธนชาติ กล่าว