สืบเนื่องจาก การบังคับใช้กฎหมายตามประกาศ อก. เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน (Automatic Sprinkler System) ใน warehouse พ.ศ. 2552 โดยเฉพาะมาตรา 12 ที่กล่าวไว้ว่า ?โรงงานที่มีสถานที่จัดเก็บวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นวัตถุที่ติดไฟได้ ที่มีพื้นที่ต่อเนื่องติดต่อกันตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่น ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System) หรือระบบอื่นที่เทียบเท่าให้ครอบคลุมพื้นที่นั้น? ซึ่งประกาศฯดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2552 (นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา) และจะส่งผลต่อโรงงานที่ต้องต่อใบอนุญาตในเดือนธันวาคม 2558 นี้ด้วย
จากประกาศฯ ดังกล่าวทำให้เป็นปัญหาต่อผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการก่อนปี 2552ดังนี้
1) ขนาดของพื้นที่บังคับใช้ในประกาศฯ นั้นมีขนาดเล็กกว่ามาก เมื่อเปรียบเทียบกับข้อบังคับในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่
2) โรงงานเก่า (ก่อนปี 2552) จะได้รับผลกระทบอย่างมากจากต้นทุนที่สูงของการติดตั้งระบบ automatic sprinkler system และปรับปรุงโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
3) ประกาศฯฉบับนี้ ไม่ได้คำนึงถึงขนาดของพื้นที่จัดเก็บ ตามประเภทความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ที่จัดเก็บ และไม่ได้คำนึงถึงสถานที่ตั้งของพื้นที่จัดเก็บว่าอยู่ ใน หรือ นอกนิคมอุตสาหกรรม
ดังนั้น สภาอุตสาหกรรมฯ จึงเสนอขอให้กระทรวงอุตสาหกรรม ทบทวนคู่มือการปฏิบัติงานตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552 เพื่อให้มาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยสูงขึ้น โดยจัดความเหมาะสม ทั้งเรื่อง Management ,Software และ Hardware ในระบบป้องกันอัคคีภัย เพื่อให้ภาพลักษณ์ของโรงงานอุตสาหกรรมเป็นที่ยอมรับของสังคมและประชาชนทั่วไป
สรุปข้อเสนอและความคิดเห็นเรื่อง automatic sprinkler system จากสมาชิก ส.อ.ท.
1. ความเหมาะสมของขนาดพื้นที่ในการบังคับใช้ของประกาศฯ ฉบับดังกล่าว
1.1 ควรมีการปรับเพิ่มขนาดของพื้นที่บังคับใช้ในประกาศฯ จาก 1,000 ตร.ม. เป็นค่าที่มากขึ้น เช่น 5,000 ตร.ม. หรือตามความเหมาะสม โดยมีเหตุผลสนับสนุน คือ
1.1.1 เมื่อได้ทำการสอบถามถึงที่มาของพื้นที่ 1,000 ตร.ม.พบว่าขนาดพื้นที่ 1,000 ตร.ม.นี้ อ้างอิงมาจากนิยามของ ?อาคารขนาดใหญ่? ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แต่เมื่อทำการเปรียบเทียบกับข้อ 20 ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ระบุว่า อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ (พื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตร.ม. ขึ้นไป) ต้องจัดให้มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่นSPRINKLE SYSTEMหรือระบบอื่นที่เทียบเท่า โดยไม่ได้กล่าวรวมถึง?อาคารขนาดใหญ่? ซึ่งจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างมาก ของพื้นที่บังคับใช้จาก 10,000 ตร.ม. มาเป็น 1,000 ตร.ม. ในประกาศฯ ทางกรมฯ จึงควรพิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมอีกครั้ง
1.1.2 เมื่อทำการเปรียบเทียบกับข้อบังคับให้มีการติดตั้งระบบ automatic sprinkler ในต่างประเทศจะพบว่า โดยส่วนใหญ่จะกำหนดพื้นที่ที่ต้องมีการติดตั้งระบบ automatic sprinkler ที่มีขนาดพื้นที่ที่ใหญ่กว่าประกาศฯ ของกระทรวงอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น
- USA บังคับที่พื้นที่ 1,115 ตร.ม. ขึ้นไปต้องมีระบบ automatic sprinkler(อ้างอิงจาก: International Code Council (ICC) "2009 International Fire Code (IFC)")
- บังคับที่พื้นที่ 3,000 ตร.ม. ขึ้นไป (อ้างอิงจาก: The fire protection research foundation "Fire Detection in warehouse facility")
- Denmark บังคับที่พื้นที่ 5,000 ตร.ม. ขึ้นไป สำหรับ normal hazard และ 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป สำหรับ high hazard (อ้างอิงจาก: The fire protection research foundation "Fire Detection in warehouse facility")
- Singapore บังคับที่พื้นที่ 3,000 ตร.ม. ขึ้นไป สำหรับ normal hazard และ 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป สำหรับ high hazard (อ้างอิงจาก: Civil Singapore defense Appendix (4) - FIRE SAFETY REQUIREMENTS FOR GENERAL WAREHOUSES) เป็นต้น
1.2 ควรมีการระบุขนาดของพื้นที่ที่ต้องติดตั้งระบบ automatic sprinkler ตามชนิดหรือความอันตรายของสารที่จัดเก็บยกตัวอย่าง เช่น แบบในประเทศ Singapore ที่มีการระบุว่าพื้นที่ 3,000 ตร.ม. ขึ้นไป สำหรับ normal hazard และ 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป สำหรับ high hazard จะต้องติดตั้งระบบ automatic sprinkler เป็นต้น ทั้งนี้ทางกรมโรงงานฯ อาจใช้เกณฑ์การพิจารณาฯ ตามคู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย ของกรมฯ พ.ศ.2550 หรือการแบ่ง occupancy classification แบบอื่นๆ ตามความเหมาะสม
1.3 ควรจัดสำรวจขนาดพื้นที่ warehouse และความเสี่ยงตามชนิดของอุตสาหกรรม เพื่อทบทวนความเหมาะสมของการลงทุนในแต่ละชนิดของอุตสาหกรรม ว่ามีความเสี่ยง ความจำเป็นหรือมีความสามารถพอที่จะติดตั้งระบบ automatic sprinkler หรือไม่
1.4 เมื่อได้ขนาดพื้นที่บังคับใช้ให้มีการติดตั้งระบบ automatic sprinkler ที่เหมาะสมแล้ว ให้เริ่มจากโรงงานที่มีความเสี่ยงสูงๆ (Extra or high hazard) ก่อน
2. การบังคับใช้ต่อโรงงานที่มีการก่อตั้งก่อนปี 2552
2.1 ในบางอาคาร warehouse ของโรงงานที่มีการก่อตั้งก่อนปี 2552 นั้น อาจไม่สามารถรองรับน้ำหนักของการติดตั้งระบบ automatic sprinkler ได้ ซึ่งจะทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการปรับโครงสร้างอาคาร หรือในโรงงานบางอุตสาหกรรมมีการใช้ปั้นจั่นยกสินค้าตลอดแนวภายในอาคารทำให้ไม่เหมาะสมกับการติดตั้งระบบ automatic sprinkler นั้น ทางกรมฯ ควรมีการเข้ามาพิจารณาในส่วนของมาตรการการทดแทนการติดตั้งระบบ automatic sprinkler ที่ทางโรงงานได้มีการจัดเตรียมเพื่อระงับอัคคีภัย (อาจกล่าวรวมถึงระบบ manual) ว่าสามารถเทียบเคียงได้หรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
2.1.1 การที่อาคารมีการติดตั้งระบบ fire/gas alarm ที่มีประสิทธิภาพเพื่อแจ้งเตือนให้ทีม emergency รับทราบได้ทันท่วงที รวมทั้งมีการติดตั้งระบบน้ำดับเพลิงรอบๆ อาคารทั้งในส่วนของ Fix monitor, fire extinguisher, fire hose cabinet ที่เพียงพอหรือมากพอต่อความต้องการและสามารถเข้าถึงได้รวดเร็วเมื่อเกิดอัคคีภัย
2.1.2 การมีระบบ Pre-fire plan (แผนตอบโต้ล่วงหน้ากรณีไฟไหม้) ที่ดีตามที่กรมฯกำหนด เช่น ระบุว่าจะต้องใช้การระงับเหตุด้วยวิธีใด ด้วยอุปกรณ์ อะไร การเชื่อมต่ออุปกรณ์สายน้ำดับเพลิงจากรถดับเพลิงของราชการอย่างไร,ใช้ปริมาณน้ำดับเพลิง/ สารเคมีดับเพลิงปริมาณเท่าไร และ อื่นๆตามจำเป็น
2.1.3 มีทีม emergency response ตลอด 24 ชม.ภายในโรงงาน
2.1.4 การที่โรงงานมีการซ้อมแผนฉุกเฉินอยู่สม่ำเสมอ และประเมินแล้วว่ามีความสามารถที่จะดับเพลิงได้
2.2 ตามข้อ 2.1 จึงมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขข้อความ ในข้อ 12 ของประกาศฯ ?หรือระบบอื่นที่เทียบเท่า?เป็น?หรือมาตรการอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบหรือตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ?ด้วยเหตุผลลักษณะของการจัดเก็บของผู้ประกอบการมีความแตกต่างกันตามประเภทอุตสาหกรรม มาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัย มีหลายระบบที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทอุตสาหกรรม มิใช่เฉพาะระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
2.3 การให้สิทธิของโรงงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่การนิคมอุตสาหกรรม (กนอ) นั้นอาจมีข้อยกเว้น หรือ ผ่อนปรนมีข้อยกเว้นบางประเด็นในการปฏิบัติตามประกาศฯ นี้ เนื่องด้วยกลุ่มโรงงานในพื้นที่ กนอ. นั้นจะมีระบบดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพมากกว่า และมีความเชื่อว่าสามารถระงับเพลิงได้ทันท่วงที
2.4 ควรทำการขยายเวลาการบังคับให้ติดตั้งระบบ automatic sprinkler สำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก/ขนาดกลาง หรืออุตสาหกรรมที่มีระดับความเสี่ยงต่ำกับโรงงานที่มีการก่อสร้าง warehouse ก่อนปี 52 ไปก่อน ส่วนโรงงานสร้างใหม่นั้นให้ปฏิบัติตามประกาศฯ เหมือนเดิม
2.5 ให้มีการพิจารณาผล Insurance survey / Audit / Risk Assessment หรือผลการตรวจสอบ จากหน่วยงานราชการ หรือ Third party ที่มีความรู้และประสบการณ์ ด้วยว่าผลการประเมินความเพียงพอของระบบดับเพลิงเป็นอย่างไรในแต่ละโรงงาน หากพบว่าผลการประเมิน/ตรวจสอบมีความเสี่ยงอยู่ในระดับยอมรับได้ (acceptable risk) หรือระดับต่ำ (Low risk) อาจกำหนดให้โรงงานนั้นไม่ต้องติดตั้งระบบ Automatic Sprinkler เพิ่มเติม แต่ใช้ระบบดับเพลิงแบบอื่นๆ ได้
2.6 ให้ทางกรมฯ สนับสนุนในการทำ Risk Assessment ของโรงงานเป็นหลักเพื่อหา Risk ที่แท้จริงและลดความเสี่ยงต่างๆ อย่างเป็นระบบ หรือมีการส่งเสริมให้มีการตรวจสอบ Risk ต่างๆ ตามโรงงานตาม checklist ที่ทางกรมโรงงานจัดทำไว้ เพื่อช่วยลดต้นเหตุการณ์เกิดอัคคีภัยอีกทางหนึ่ง
2.7 ให้ทางกรมฯ จัดทีมวิเคราะห์ให้คำแนะนำในการติดตั้ง Automatic Sprinkler สำหรับโรงงานที่มีอยู่แล้วควรจะต้องเพิ่ม หรือลดอุปกรณ์ตัวไหนบ้าง หรือจำเป็นต้องมีการลงทุนปรับเปลี่ยนโครงสร้างเดิม...//